CYBER ELITE ได้รับเกียรติขึ้นบรรยายในงานสัมมนาผู้บริหารระดับสูงด้านสารสนเทศ (ครั้งที่ 19) Thailand Insurance CIO Forum 2023 “Embracing Tech – Driven Insurance Solutions” ในหัวข้อเรื่อง AI And Cybersecurity ณ โรงแรม Amari Pattaya จ.ชลบุรี

เมื่อวันที่ 27 – 29 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ดร.ศุภกร กังพิศดาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไซเบอร์ อีลีท ได้รับเกียรติขึ้นบรรยายในงานสัมมนาผู้บริหารระดับสูงด้านสารสนเทศ ครั้งที่ 19 Thailand Insurance CIO Forum 2023 “Embracing Tech – Driven Insurance Solutions” เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีขององค์กร ร่วมแลกเปลี่ยนแนวความคิด และประสบการณ์ระหว่างองค์กร ณ โรงแรม Amari Pattaya จ.ชลบุรี การบรรยายครั้งนี้ ดร.ศุภกร กังพิศดาร ได้มาแบ่งปันความรู้ในหัวข้อเรื่อง AI And Cybersecurity เนื่องจากปัจจุบันนี้มีการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดของ Generative AI ตั้งแต่ปี 2010 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ที่ทุกคนเข้าถึง Generative AI ได้ สามารถตอบคำถาม โดยตอบสนองผ่านอัลกอรึทึมจากข้อมูลขนาดใหญ่แล้วสร้างเป็นข้อมูลใหม่ขึ้นมา ทำให้ในหลายๆ […]
วิธีการรับมือและป้องกันความเสี่ยงทางด้านไซเบอร์ของหน่วยงานรัฐ (Government Sector Cybersecurity Challenges & How to Overcome Them)

Promotion ในบทความที่แล้วเราได้เห็นถึงตัวอย่างเหตุการณ์การโจมตีที่เคยเกิดขึ้นกับหน่วยงานรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลกกันไปแล้ว และจะเห็นได้ว่าการโจมตีทางไซเบอร์นั้นสามารถถูกใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเมืองได้ ดังนั้นการดูแลรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและอินเทอร์เน็ตของภาครัฐจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่ทุกหน่วยงานจะต้องตระหนัก สร้างนโยบาย และวางแนวทางการดำเนินงานรวมถึงแนวทางปฏิบัติของพนักงานอย่างเคร่งครัด เพื่อให้พร้อมตอบสนองต่อการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งในบทความนี้จะแชร์ให้เห็นถึงความเสี่ยงที่หน่วยงานรัฐต้องคำนึงถึง และวิธีการจัดการความเสี่ยงเหล่านี้ให้รอดพ้นจากการถูกโจมตี https://www.checkpoint.com/cyber-hub/cyber-security/what-is-cybersecurity-for-governments/cybersecurity-challenges-for-governments-in-2023/#TheChallenges ความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่หน่วยงานของรัฐต้องคำนึงถึงในปี 2023 Hacktivism กลุ่มผู้ไม่หวังดีทำการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับของหน่วยงานเพื่อเป้าหมายทางการเมือง มักใช้วิธีการเช่น DDoS attacks, defacement of websites เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและมีผลกระทบต่อความปลอดภัยของระบบข้อมูล Ransomware Attacks เป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน โดยไม่เพียงแต่การเข้ารหัสข้อมูลเท่านั้น แต่ยังมีการขโมยข้อมูลและขู่เปิดเผยข้อมูลเพื่อให้เจ้าของข้อมูลจ่ายค่าไถ่ เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศ Wipers and Destructive Malware โปรแกรมมัลแวร์ทำลายข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อทำลายข้อมูลสำคัญของหน่วยงานรัฐให้สูญหายไปอย่างถาวร หรืออาจทำให้ระบบปฏิบัติการล่ม ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการโจมตีทางไซเบอร์ต่อรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง เช่น WhisperGate, HermeticWiper, HermeticWizard, และ HermeticRansom ซึ่งตัวอย่างมัลแวร์เหล่านี้ เป็นมัลแวร์ที่รัสเซียใช้โจมตียูเครน Data Breaches หน่วยงานของรัฐบาลมีข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน และส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่เป็นความลับที่มีความละเอียดอ่อนสูง เป็นเหตุให้ผู้ไม่หวังดี มุ่งเป้าโจมตีมาที่ข้อมูลเหล่านี้เพื่อทำลายความมั่นคงและน่าเชื่อถือของรัฐบาล The Weaponization of Legitimate Tools สามารถโจมตีด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมาย […]
CYBER ELITE ได้รับเกียรติเป็นผู้บรรยายในงานประชุมกำหนดกรอบการวิจัยทางด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศ

เมื่อวันพุธที่ 25 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ดร.ศุภกร กังพิศดาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไซเบอร์ อีลีท ได้รับเกียรติเป็นผู้บรรยายในงานประชุมกำหนดกรอบการวิจัยทางด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศ (Focus Group) ครั้งที่ 4 โครงการส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ที่จัดขึ้นโดย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เพื่อสนับสนุนการศึกษาวิจัย และพัฒนาข้อมูลทั้งด้านองค์ความรู้และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ รวมไปถึงการกำหนดมาตรฐานการวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศ การพัฒนาเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อทำแผนการปฎิบัติการในการรับมือทางไซเบอร์ เพื่อยกระดับส่งเสริมองค์ความรู้กับหน่วยงาน ให้มีระดับในการป้องกันภัยที่สูงขึ้น ณ ห้องประชุม BB-202 โรงแรม เซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์แจ้งวัฒนะ การบรรยายครั้งนี้ ดร.ศุภกร กังพิศดาร ได้มาแบ่งปันความรู้ในหัวข้อ การสร้างโจทย์การวิจัยทางด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างไร ให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ จากที่เคยอาจารย์มหาวิทยาลัยมหานครและเป็นผู้นำบริษัท Cyber Elite อีกทั้งการเป็นส่วนหนึ่งของสมาคม CIO ทำให้มีความเชี่ยวชาญทั้งในการเขียนบทความทางวิชาการ และในงานวิจัยเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในหลากหลายด้าน ดร.ศุภกร ได้ยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นในบริษัท Cyber Elite ที่เป็นบริษัทที่เป็นผู้ให้บริการด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างครบวงจร แต่ในส่วนของการทำงานจริงในศูนย์รวมความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์นั้น การเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เหมาะสม […]
ตัวอย่างเหตุการณ์การโจมตีที่เกิดขึ้นในหน่วยงานรัฐบาลทั่วโลก (Global Government Cybersecurity Incidents)

หน่วยงานของภาครัฐ แทบจะเรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางข้อมูลของประชาชน ที่วางใจให้จัดเก็บและรับผิดชอบข้อมูลที่สำคัญเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสาธารณูปโภค หรือข้อมูลความมั่นคงของประเทศ ซึ่งถ้าหากเกิดการรั่วไหล สูญหายอาจทำให้การดำเนินงานภายในหน่วยงานต้องหยุดชะงัก ไม่เพียงส่งผลเสียต่อหน่วยงานเท่านั้น แต่ยังกระทบต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาล และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจได้อีกด้วย มากไปกว่านั้นการรั่วไหลของข้อมูลที่อาจจะเกิดจากความประมาท หน่วยงานรัฐอาจถูกโจมตีด้วยเจตนาทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการเมืองระดับประเทศ หรือระหว่างประเทศ ภัยคุกคามทางไซเบอร์สามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการก่อการร้ายได้ หรืออาจลุกลามไปจนถึงการทำสงครามทางไซเบอร์ระหว่างประเทศ ตัวอย่างเหตุการณ์การโจมตีที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานรัฐบาลหลายแห่ง มีดังนี้ วันที่ 23 ธันวาคม 2015, สืบเนื่องจากเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย – ยูเครน รัสเซียจึงเลือกโจมตีระบบสายส่งไฟฟ้าของยูเครน จนทำให้ไฟฟ้าดับเป็นเวลา 1-6 ชั่วโมง มีผลกระทบกับผู้คนประมาณ 230,000 คน มีจุดประสงค์เพื่อขัดขวางการดำเนินงานของทหารและการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนในยูเครน วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2022, ยูเครนถูกโจมตีทางไซเบอร์ด้วยวิธี (Distributed Denial of Service – DDoS ) จากรัสเซีย ส่งผลให้สถาบันสำคัญของประเทศ เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทหารผ่านศึก รวมทั้งธนาคารหลายแห่ง ไม่สามารถใช้งานเว็บไซต์ได้หลังจากถูกโจมตี วันที่ […]
CYBER ELITE ร่วมกิจกรรม SMC members’ day ครั้งที่ 2 จัดขึ้นโดยศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) ณ EEC Automation Park มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี

เมื่อวันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมาบริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด ได้ร่วมกิจกรรม SMC members’ day ครั้งที่ 2 ในฐานะหนึ่งในสมาชิก นอกจากนั้นคุณกฤษฎา คำแท้ Head of Cybersecurity Department บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด ยังได้รับเกียรติเป็นหนึ่งในผู้บรรยายในกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งเป็นงานที่จัดขึ้นโดยศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) ณ EEC Automation Park มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี ซึ่งมีจุดประสงค์ในการจัดงานเพื่อให้สมาชิกของ SMC เช่นผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยี ได้มาร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายข้อมูลระหว่างกันเกี่ยวกับการยกระดับโรงงานให้เป็นอุตสาหกรรม 4.0 อย่างมีประสิทธิภาพ คุณกฤษฎา ได้บรรยายเกี่ยวกับบริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด ในฐานะผู้ให้บริการทางด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างครบวงจร สามารถช่วยยกระดับความปลอดภัยของโรงงานให้พร้อมที่จะเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ได้ รวมไปถึงการให้ความสำคัญทั้งในเรื่องของระบบ IT และ OT […]
CYBER ELITE ร่วมกับ Trellix และ Netpoleon จัดงานสัมมนา Cyber Elite Executive Luncheon ในหัวข้อ Code Blue! Battling Cyber Threats in Healthcare

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด ผู้ให้บริการด้านความมั่นคงปลอดภัยแบบครบวงจรร่วมกับ Trellix และ Netpoleon จัดงานสัมมนา Cyber Elite Executive Luncheon ในหัวข้อ Code Blue! Battling Cyber Threats in Healthcare เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นภายในกลุ่มผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญทางด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับประโยชน์ของการทำ Cybersecurity เพื่อยกระดับความมั่นคงปลอดภัยของระบบที่ใช้ในหน่วยงานสุขภาพ รวมไปถึงการเพิ่มความตระหนักในการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลของแพทย์และข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย เพื่อเป็นแนวทางที่สำคัญในการเสริมสร้างความปลอดภัยด้านไซเบอร์ในหน่วยงานสุขภาพ ณ โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค ห้อง The Pavilion 1 ดร.ศุภกร กังพิศดาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไซเบอร์ […]
ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มุ่งเป้าโจมตีหน่วยงานของรัฐเพิ่มขึ้นทั่วโลกในปี 2023

ในช่วงครึ่งแรกของปี 2023 การโจมตีทางไซเบอร์ที่พุ่งเป้าไปที่หน่วยงานภาครัฐเพิ่มมากขึ้น จากรายงานของ Atlas VPN[1] มีเหตุการณ์การโจมตีทางไซเบอร์ที่สำคัญ ที่มุ่งเป้าไปที่หน่วยงานของรัฐ 49 เหตุการณ์สำคัญ เพิ่มขึ้นถึง 11% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว การโจมตีดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อหน่วยงานของรัฐในอย่างน้อย 27 ประเทศทั่วโลก จากผลการวิเคราะห์ของศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์และการต่างประเทศ (Center for Strategic and International Studies) สหรัฐอเมริกา ซึ่งติดตามเหตุการณ์ทางไซเบอร์ที่สำคัญย้อนหลังไปถึงปี 2003 เรามุ่งเน้นเฉพาะกรณีที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานรัฐบาล ตัวแทนของรัฐบาลเท่านั้น [1] https://atlasvpn.com/blog/cyberattacks-against-governments-are-on-the-rise-in-2023 ในเดือนมกราคม 2023 หน่วยงานรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของรัฐบาลสหรัฐฯ ออกคำเตือนว่าแฮกเกอร์ที่มีแรงจูงใจทางการเงินได้โจมตีหน่วยงานรัฐบาลกลาง โดยใช้ซอฟต์แวร์เดสก์ท็อปที่สามารถควบคุมระยะไกลได้ (Remote Desktop Software) ในขณะเดียวกัน ในเดือนมิถุนายน 2023 หน่วยงานรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ หลายหน่วยงานตกเป็นเหยื่อของการโจมตีทางไซเบอร์ทั่วโลกที่จัดทำโดยเหล่าแฮกเกอร์ที่มีความเชื่อมโยงกับรัสเซีย หน่วยงานที่ได้รับผลกระทบจากการโจมตีครั้งนี้ ได้แก่ กระทรวงพลังงาน (Department of Energy) และสำนักงานบริหารงานบุคคลแห่งสหรัฐอเมริกา (US Office of Personnel Management) […]
การโจมตีแรนซัมแวร์ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการเงินและแนวทางป้องกัน (Ransomware Prevention in the BFSI Sector)

จากบทความที่แล้ว เราได้เห็นถึงตัวเลขที่แสดงถึงผลกระทบของแรนซัมแวร์ในภาคการเงิน ธนาคาร และอันดับความร้ายแรงของกลุ่มอาชญากรไซเบอร์ที่ใช้แรนซัมแวร์ในการโจมตีกันไปแล้ว ในบทความนี้เราจะมาบอกเล่าถึงตัวอย่างเหตุการณ์เรียกค่าไถ่ที่เคยเกิดขึ้น และการเตรียมรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้อุตสาหกรรมการเงินรอดพ้นจากการถูกโจมตี กลุ่มแรนซัมแวร์ยังคงมุ่งเป้าการโจมตีไปที่องค์กรต่างๆ ทั่วโลก เห็นได้จากปีที่ผ่านมาอัตราการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ในแต่ละวันมีจำนวนเพิ่มขึ้นเกือบถึงสองเท่า อีกทั้งปัจจุบันนี้ยังมีการเกิดใหม่ของกลุ่มแรนซัมแวร์แบบเล็งเป้าหมาย ซึ่งมักจะเน้นไปที่บริษัทใหญ่ อย่างเช่นอุสาหกรรมที่เกี่ยวกับธนาคาร สถาบันการเงิน และธุรกิจประกันภัย เนื่องจากได้รับผลตอบแทนจากการโจมตีที่สูง ในปัจจุบัน “Ransomware 3.0” เป็นภัยคุกคามเวอร์ชันที่อันตรายขึ้น ที่ไม่เพียงแค่เข้ารหัสข้อมูลและเรียกค่าไถ่เท่านั้น ยังสามารถโจมตีทรัพย์สินและทำลายระบบสารสนเทศขององค์กร ที่มีความรุนแรงและความซับซ้อนมากขึ้นเมื่อเทียบกับการโจมตีแรนซัมแวร์ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นการขโมยข้อมูลหรือไฟล์สำคัญที่ถูกแฮกออกมาขายทอดตลาด การโจมตีแบบดีดอส (DDoS) หรือการใช้ข้อมูลที่ถูกขโมยจากการโจมตีก่อนหน้านี้เพื่อโจมตีเป้าหมายใหม่ ๆ เช่น การฟิชชิงแบบระบุเป้าหมาย (Spear Phishing) ตัวอย่างเหตุการณ์การโจมตีที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมการเงินที่ธนาคารขนาดใหญ่หลายแห่ง ตกเป็นเป้าหมายของแรนซัมแวร์ ดังนี้ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2023 ธนาคาร Syariah Indonesia ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่โดดเด่นที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย ได้กลายเป็นเหยื่อของการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ จากกลุ่มอาชญากรรมไซเบอร์ที่มีชื่อว่า “LockBit” เจาะข้อมูลการเข้าสู่ระบบของธนาคารได้สำเร็จ ซึ่งส่งผลให้ระบบของธนาคารหยุดทำงานทั้งหมด และเกี่ยวข้องกับการรั่วไหลของข้อมูลที่สำคัญจํานวนมหาศาล โดยอ้างว่าประสบความสําเร็จในการเข้าถึงข้อมูลประมาณ 5 เทราไบต์ ครอบคลุมรายละเอียดส่วนบุคคลของลูกค้าและพนักงานกว่า 15 ล้านคน โดยมีรายงานว่าข้อมูลที่รั่วไหลรวมถึงหมายเลขโทรศัพท์ […]
แรนซัมแวร์กับอุตสาหกรรมทางการเงิน (Ransomware in Financial business)

จากบทความที่แล้วเราได้รู้กันไปแล้วว่าอาชญากรไซเบอร์มุ่งเป้าไปที่การแสวงหาผลประโยชน์ทางการเงิน โดยการเรียกค่าไถ่ หรือหลอกขโมยข้อมูลรหัสผ่านที่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ และข้อมูลที่สำคัญดังกล่าวไปเปิดเผยต่อสาธารณะหรือขายในตลาดมืดได้ ในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการโจมตีแรนซัมแวร์ที่มีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมการเงิน และขั้นตอนที่สามารถดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงให้น้อยลงได้ ปัจจุบันอุตสาหกรรมการเงินมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น การนำ AI เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล การใช้เทคโนโลยีคลาวด์ การทำธุรกรรมและการชำระเงินผ่านทางดิจิทัลแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งการนำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาใช้ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ธนาคาร สถาบันการเงิน และธุรกิจประกันภัยต้องเผชิญกับความเสี่ยงและช่องโหว่ของการโจมตีที่กว้างขึ้น เป็นเหตุให้อาชญากรไซเบอร์เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการโจมตีแรนซัมแวร์ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานในสถาบันการเงินต่างๆ เพราะข้อมูลที่ถูกขโมยไป ล้วนแล้วแต่เป็นข้อมูลที่สำคัญ เป็นข้อมูลทางการเงินที่มีมูลค่าสูง โดยในปี 2021 บริษัทบริการทางการเงินมากกว่าครึ่ง (55%) ตกเป็นเหยื่อของการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์อย่างน้อยหนึ่งครั้ง และเพิ่มขึ้น (62%) จากปีก่อนหน้าคือปี 2020 ตามข้อมูลของ Sophos ยิ่งไปกว่านั้นยังสร้างความเสียหายที่รุนแรงมากขึ้น เนื่องจากแรนซัมแวร์มีการพัฒนาความซับซ้อนที่ไม่เพียงแค่เข้าถึงรหัสข้อมูลที่สำคัญได้เท่านั้น ตอนนี้สามารถเข้าถึงเครือข่ายแบบถาวร นั่นหมายความว่าแม้จะชำระเงินค่าไถ่ไปแล้วในครั้งแรก แต่ก็ยังสามารถเข้าถึงเครือข่ายของเหยื่อได้อยู่ ซึ่งทำให้อาชญากรไซเบอร์สามารถติดตามและขโมยข้อมูลอื่น ๆ ได้อีกในอนาคต […]
CYBER ELITE ร่วมกับ Imperva จัดงานสัมมนาในหัวข้อ Managed Data Security in a Dynamic Digital Landscape

เมื่อวันอังคารที่ 12 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด ผู้ให้บริการด้านความมั่นคงปลอดภัยแบบครบวงจร ร่วมกับ Imperva ผู้ให้บริการโซลูชันทางด้าน Data Security และ Application Security ที่สามารถช่วยองค์กรบริหารความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมกันจัดงานสัมมนาในหัวข้อ Managed Data Security in a Dynamic Digital Landscape ที่จะมานำเสนอวิธีการบริหารความปลอดภัยของข้อมูลสำหรับองค์กรให้เหมาะสม ซึ่งเป็นหลักสำคัญของทุกๆ องค์กรต้องปฏิบัติในขณะนี้ เช่น การเข้ารหัสข้อมูล การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล การตรวจจับเมื่อมีความเสี่ยง การตอบสนองกรณีฉุกเฉิน และวิธีการปฏิบัติตามนโยบายภายในองค์กร โดยภายในงานมีการสาธิตเกี่ยวกับ วิธีการใช้งานระบบตรวจจับล่าสุดจาก Imperva เพื่อให้องค์กรพร้อมรับมือเมื่อเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้และช่วยให้สามารถจัดการความปลอดภัยข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ณ ห้องประชุมทรอฟี่ โรงแรมไอบิส สไตล์ กรุงเทพฯ รัชดา […]