วิธีการรับมือและป้องกันความเสี่ยงทางด้านไซเบอร์ของหน่วยงานรัฐ (Government Sector Cybersecurity Challenges & How to Overcome Them)

Share on Facebook
Share on Linkedin
Share on Twitter

ในบทความที่แล้วเราได้เห็นถึงตัวอย่างเหตุการณ์การโจมตีที่เคยเกิดขึ้นกับหน่วยงานรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลกกันไปแล้ว และจะเห็นได้ว่าการโจมตีทางไซเบอร์นั้นสามารถถูกใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเมืองได้ ดังนั้นการดูแลรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและอินเทอร์เน็ตของภาครัฐจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่ทุกหน่วยงานจะต้องตระหนัก สร้างนโยบาย และวางแนวทางการดำเนินงานรวมถึงแนวทางปฏิบัติของพนักงานอย่างเคร่งครัด เพื่อให้พร้อมตอบสนองต่อการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งในบทความนี้จะแชร์ให้เห็นถึงความเสี่ยงที่หน่วยงานรัฐต้องคำนึงถึง และวิธีการจัดการความเสี่ยงเหล่านี้ให้รอดพ้นจากการถูกโจมตี

https://www.checkpoint.com/cyber-hub/cyber-security/what-is-cybersecurity-for-governments/cybersecurity-challenges-for-governments-in-2023/#TheChallenges

ความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่หน่วยงานของรัฐต้องคำนึงถึงในปี 2023

  • Hacktivism กลุ่มผู้ไม่หวังดีทำการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับของหน่วยงานเพื่อเป้าหมายทางการเมือง มักใช้วิธีการเช่น DDoS attacks, defacement of websites เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและมีผลกระทบต่อความปลอดภัยของระบบข้อมูล
  • Ransomware Attacks เป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน โดยไม่เพียงแต่การเข้ารหัสข้อมูลเท่านั้น แต่ยังมีการขโมยข้อมูลและขู่เปิดเผยข้อมูลเพื่อให้เจ้าของข้อมูลจ่ายค่าไถ่ เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศ
  • Wipers and Destructive Malware โปรแกรมมัลแวร์ทำลายข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อทำลายข้อมูลสำคัญของหน่วยงานรัฐให้สูญหายไปอย่างถาวร หรืออาจทำให้ระบบปฏิบัติการล่ม ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการโจมตีทางไซเบอร์ต่อรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง เช่น WhisperGate, HermeticWiper, HermeticWizard, และ HermeticRansom ซึ่งตัวอย่างมัลแวร์เหล่านี้ เป็นมัลแวร์ที่รัสเซียใช้โจมตียูเครน
  • Data Breaches หน่วยงานของรัฐบาลมีข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน และส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่เป็นความลับที่มีความละเอียดอ่อนสูง เป็นเหตุให้ผู้ไม่หวังดี มุ่งเป้าโจมตีมาที่ข้อมูลเหล่านี้เพื่อทำลายความมั่นคงและน่าเชื่อถือของรัฐบาล
  • The Weaponization of Legitimate Tools สามารถโจมตีด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมาย บุกรุกระบบคอมพิวเตอร์ หน่วยงานต้องมีมาตรการป้องกันในการเข้าถึง และใช้เครื่องมือจำกัดสิทธิ์การเข้าถึง และการติดตามการใช้งาน

ในปัจจุบันหน่วยงานของรัฐมักจะมุ่งเน้นไปที่การตรวจจับและตอบสนองต่อเหตุการณ์ เมื่อถูกโจมตีด้วยภัยคุกคามทางไซเบอร์จึงต้องรีบเร่งในการควบคุมเหตุการณ์และลดความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่การป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นหน่วยงานรัฐจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมตั้งแต่การลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการโจมตีทางไซเบอร์เพื่อป้องกันภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น โดยเสริมสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติและเพิ่มความตระหนักถึงความเสี่ยงใหม่ที่อาจเกิดขึ้น นี้จะช่วยลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดจากการโจมตีทางไซเบอร์ ด้วยความรู้ในการจัดการและควบคุมความปลอดภัยทางไซเบอร์

https://www.checkpoint.com/cyber-hub/cyber-security/what-is-cybersecurity-for-governments/

สามารถลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการโจมตีไซเบอร์ได้ ดังนี้

  1. Internet of Things (IoT) หน่วยงานมีโครงสร้างพื้นฐานที่ถูกควบคุมด้วยอุปกรณ์ IoT ดังนั้นควรมีการประเมินความเสี่ยงเพื่อตรวจหาช่องโหว่ รวมไปถึงการเข้ารหัสข้อมูล และแยกเครือข่ายเพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูล
  2. Data Security การป้องกันข้อมูลไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลหรือถูกโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ โดยจะต้องมีการสำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ อัปเดตซอฟต์แวร์ของระบบให้เป็นล่าสุดและจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลเพียงผู้ที่จำเป็นเท่านั้น
  3. Cloud Security การใช้งานระบบคลาวน์ในหน่วยงานรัฐมากขึ้น ดังนั้นจึงจะต้องมีการกำหนดค่าที่ถูกต้อง ควบคุมการเข้าถึงของข้อมูล และต้องจัดการความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การตั้งค่า Firewall ให้มีความปลอดภัย
  4. Network Security การป้องกันและรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย หน่วยงานจะต้องสามารถป้องกัน รวมถึงลดพื้นที่ความเสียหายของการโจมตีได้ เช่น การติดตั้ง Firewall การตรวจสอบเครือข่ายเป็นประจำ
  5. Application Security การรักษาความปลอดภัยข้อมูลของแอปพลิเคชันที่ให้บริการกับประชาชน ข้อมูลจะต้องได้รับการคุ้มครองจาก Application Firewall (WAF) หรือระบบตรวจจับการบุกรุก
  6. Endpoint Security อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายขององค์กรสามารถกลายเป็นทางเข้าสำหรับผู้โจมตีได้ สามารถป้องกันได้ เช่น การใช้ซอฟต์แวร์ที่สามารถตรวจจับภัยคุกคาม กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงตามหน้าที่ของผู้ใช้งาน
  7. Mobile Security ต้องมีการตรวจสอบและอัปเดตแอปพลิเคชันบนมือถือให้เป็นปัจจุบัน ป้องกันมัลแวร์ที่อาจจะถูกติดตั้งบนมือถือหรือการโจมตีทางข้อความ และหลีกเลี่ยงการคลิกลิงค์จากแหล่งที่ไม่รู้จัก
  8. Consolidated Security Architecture การรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทำให้ตรวจจับภัยคุกคามที่มีความซับซ้อนได้เร็วขึ้น สามารถมองเห็นภาพรวมช่วยในการตอบสนองที่ดีขึ้น แต่ต้องมั่นใจว่าสามารถรองรับเครื่องมือความปลอดภัยที่มีอยู่แล้วได้ และทีมงานจะต้องได้รับการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ

การรักษาความปลอดภัยไซเบอร์สำหรับหน่วยงานของรัฐไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องมุ่งมั่นทำเพื่อความปลอดภัยของข้อมูลและความสงบสุขของประชาชน รัฐบาลควรมีมาตรการความปลอดภัยไซเบอร์อย่างครอบคลุม ไม่มองข้ามในการปฏิบัติงานของตน เตรียมแนวทางการรับมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดเพื่อป้องกันการโจมตี รวมไปถึงการตรวจจับและตอบสนองต่อเหตุการณ์ทางไซเบอร์ในปัจจุบันเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับหน่วยงานของรัฐ เนื่องจากวิธีการและเทคนิคของผู้โจมตียังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีโอกาสเกิดขึ้นแบบต่อเนื่อง การโจมตีเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและประชาชนได้ อีกทั้งหน่วยงานของรัฐยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านไซเบอร์ที่มีความซับซ้อน หน่วยงานบางแห่งอาจขาดความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ไม่สามารถตรวจจับการโจมตีได้อย่างทันท่วงที

CYBER ELITE มีผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ บริการให้คำปรึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์สำหรับหน่วยงานของรัฐ ด้วยเทคโนโลยีที่สามารถแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับระบบที่มีความซับซ้อนในการบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมในการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ เสริมสร้างระบบความปลอดภัยให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย ช่วยประเมินความเสี่ยงเพื่อหาช่องโหว่ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อช่วยจัดการระบบการรักษาความปลอดภัยในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ พร้อมรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้โดยทันที

สนใจรับบริการด้าน Cybersecurity ติดต่อ CYBER ELITE ได้ทุกช่องทาง