6 แนวโน้ม ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ควรจับตามอง

ในยุคดิจิทัลที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว องค์กรต่างต้องเผชิญกับภัยคุกคามไซเบอร์ที่รุนแรงและซับซ้อนมากขึ้น ข้อมูลสำคัญอาจรั่วไหล ระบบล่ม อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายทางการเงินและชื่อเสียงขององค์กร ภัยคุกคามเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไป ผู้บริหารด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (CISO) มีบทบาทสำคัญในการปกป้ององค์กรจากภัยคุกคามจึงต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำด้านความปลอดภัยขององค์กร โดยต้องเฝ้าระวังและติดตามเทรนด์ภัยคุกคามใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อนำมาพัฒนากลยุทธ์ในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ CISO ยังต้องทำหน้าที่สื่อสารทั้งกับผู้บริหารและพนักงาน สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เห็นถึงความสำคัญของความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อให้สามารถรับมือภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในบทความนี้เราจะมาอัพเดตถึงความท้าทาย 6 ประการที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการทำงานของ CISO พร้อมด้วยวิธีการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามเหล่านี้ Quantum Computing Puts Encryption to the Test การเข้าสู่ยุคของคอมพิวเตอร์ควอนตัม (Quantum Computing) ที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาด้วยความเร็วในการประมวลผลที่เหนือกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไปอย่างมาก แต่คอมพิวเตอร์ควอนตัมนั้นก็อาจเป็นภัยคุกคามต่อระบบเข้ารหัสแบบดั้งเดิมที่ใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบัน ซึ่งระบบภายในองค์กรสามารถถูกโจมตีและถอดรหัสได้ง่ายขึ้น เช่น ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลทางการแพทย์ ข้อมูลธุรกิจ ส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อองค์กร CISO จึงต้องเตรียมพร้อมรับมือกับยุคของคอมพิวเตอร์ควอนตัมด้วยการดำเนินการด้านความปลอดภัยแบบเชิงรุก โดยเริ่มต้นตั้งแต่การประเมินการเข้ารหัสปัจจุบันขององค์กร ศึกษาแนวทางป้องกันเพื่อพัฒนาระบบเข้ารหัสที่ทนทานต่อคอมพิวเตอร์ควอนตัม เช่น เทคนิคการเข้ารหัสลับบนพื้นฐานโครงข่าย (Lattice-based cryptography) หรือการเข้ารหัสแบบลายเซ็นดิจิทัล (Digital signatures) […]

แนวโน้มด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่สำคัญสำหรับปี 2024 โดย Gartner

ในปีนี้องค์กรต่างๆ ต้องเผชิญกับภัยคุกคาม และความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นำมาซึ่งโอกาสและความท้าทายใหม่ๆ ที่องค์กรจำเป็นต้องรับมือ เช่น Generative AI ที่มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงโลกดิจิทัลไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ออกมาได้หลากหลายเช่น ข้อความ รูปภาพ เสียง และสื่อมัลติมีเดีย นอกจากนั้นยังมีปัจจัยภายนอกอื่นๆ โดย Gartner สรุปแนวโน้มด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่สำคัญสำหรับปี 2024 ไว้ดังนี้ 1. Generative AI – การพัฒนาของปัญญาประดิษฐ์ขนาดใหญ่ (Large Language Model) ที่ถูกสอนให้ใช้ข้อมูลจำนวนมหาศาล ในการประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อนได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุม ตัวอย่างที่เราคุ้นเคยกันดีได้แก่ Chat GPT, DALL-E, Gemini ที่กำลังเป็นที่จับตามอง เพราะเป็นเหมือนอนาคตของโลกเทคโนโลยี จึงเป็นจุดที่นักพัฒนามุ่งมั่นที่จะพัฒนาประสิทธิภาพให้ Generative AI มีความก้าวหน้าเพื่อประยุกต์ใช้เป็นผู้ช่วยอัจฉริยะใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องการขาดทักษะและค้นหาแนวทางใหม่ๆ ในการดำเนินงานทางด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ อย่างไรก็ตามศักยภาพเหล่านี้ยังคงมีความไม่แน่นอน ข้อจำกัด และข้อกังวลด้านจริยธรรมต่างๆ เช่น ความถูกต้องของเนื้อหา ความเป็นกลาง การละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น   ด้วยเหตุนี้ […]

7 เต็ม 7 จะกี่เช็คลิสต์ MDR ของ CYBER ELITE ก็ทั้งถูกใจและถูกต้อง

เราได้รู้จักกับบริการ Managed Detection and Response (MDR) ของ CYBER ELITE กันไปแล้วจากบทความ < CYBER ELITE’s MDR Service | Effortlessly Secure Your Cyberspace > ว่า CYBER ELITE ได้ยกระดับบริการให้ครอบคลุมทั้งวงจรการบริหารจัดการเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่สามารถเข้ามาช่วยจัดการตั้งแต่เริ่มต้นวางแผน เฝ้าระวัง ตรวจจับและตอบสนอง โดยจุดเด่นของบริการ MDR ของเราหลักๆ ได้แก่ความเชี่ยวชาญของบุคลากรที่มีความสามารถในการตรวจจับและตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งบริการของเรายังสามารถทำงานอยู่ได้บนเทคโนโลยีความปลอดภัยของลูกค้าองค์กรเอง (Bring your own stack) หรือแนะนำเทคโนโลยีใหม่ที่เหมาะสมกับองค์กร หรือจะเป็นเทคโนโลยีจากผู้ให้บริการเจ้าเดียวก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน (Full vendor-supplied MDR Stack) เป็นการเพิ่มทางเลือกที่หลายหลายให้กับลูกค้าองค์กรเพื่อให้ตัดสินใจได้โดยมีข้อจำกัดน้อยที่สุด หากท่านยังเห็นภาพบริการ MDR ของ CYBER ELITE ยังไม่ชัดเจน ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปทำเช็คลิสต์ตามคำแนะนำจากบทความ <7 เช็คลิสต์ ผู้ให้บริการ MDR […]

CYBER ELITE’s MDR Service | Effortlessly Secure Your Cyberspace

MDR-Service

จากบทความที่แล้ว เราได้รู้กันไปแล้วว่า เช็คลิสต์ที่องค์กรต้องพิจารณา ในการเลือกผู้ให้บริการ MDR นั้นมีอะไรบ้าง ซึ่ง CYBER ELITE เป็นผู้ให้บริการ Managed Detection & Response (MDR) ที่ได้ยกระดับการให้บริการของศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์หรือ Security Operation Center (SOC) ให้สามารถช่วยองค์กรรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยมีการเพิ่มบริการในการตอบสนองและรับมือหลังเกิดเหตุแบบอัตโนมัติ พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และตรวจจับด้วยเทคโนโลยี Artificial Intelligent (AI) และ Machine Learning (ML) ที่ชาญฉลาดมากยิ่งขึ้น โดยบริการ MDR ของ CYBER ELITE นั้นสามารถตอบโจทย์ความท้าทายขององค์กรด้านการบริหารจัดการความซับซ้อนของการใช้งานและการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์จากหลากหลายผู้ให้บริการ ด้วยการรวมศูนย์กลางการบริหารจัดการ (Vendor Consolidation / Vendor Neutral)  โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยให้การตอบสนองต่อภัยคุกคามเป็นไปอย่างรวดเร็วและแม่นยำ แนวทางการดำเนินงานของบริการ Managed Detection and Response (MDR) บริษัท ไซเบอร์ อีลีท ได้ต่อยอดการให้บริการมาจากความเชี่ยวชาญของเราในฐานะ Managed […]

7 เช็คลิสต์ ผู้ให้บริการ MDR เลือกอย่างไรให้ทั้งถูกใจ และถูกต้อง?

checklist MDR

บริการ Managed Detection and response (MDR) กลายเป็น 1 ใน บริการที่องค์กรให้ความสำคัญและหลายองค์กรกำลังมองหาบริการนี้ เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้แข็งแกร่ง พร้อมรับมือกับโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้ให้บริการ MDR มักมาพร้อมกับบริการที่ครอบคลุมแบบครบวงจร ตั้งแต่เฝ้าระวัง ตรวจจับ วิเคราะห์ และตอบสนองต่อภัยคุกคาม บางรายอาจสามารถให้บริการที่ปรึกษา วางแผนการกลยุทธ์การทำงาน ให้ประสิทธิภาพ และยืดหยุ่นมากพอสำหรับการรับมือกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่การจะเลือกผู้ให้บริการซักรายหนึ่งนั้น ต้องมีการประเมินความเหมาะสมอย่างรอบคอบ ซึ่งในบทความนี้เราจะหยิบยก 7 เช็คลิสต์ที่ต้องคำนึงถึง เมื่อต้องตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการ MDR เข้าใจความต้องการทางด้าน Cybersecurity ของตัวเอง ข้อนี้อาจไม่ถือว่าเป็นสิ่งที่องค์กรต้องคำนึงถึงในการเลือกผู้ให้บริการเสียทีเดียว แต่เป็นข้อที่องค์กรต้องรู้ให้ชัดเจนเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการเริ่มต้นหารือกับผู้ให้บริการ รวมถึงระบุให้แน่ชัดถึงจุดแข็ง จุดอ่อน ขององค์กร เพื่อหาจุดที่ต้องการสำหรับให้ผู้บริการ MDR เข้ามาเติมเต็ม เช่น องค์กรมีเทคโนโลยี และมีความสามารถในการตรวจจับ แต่ไม่มีความสามารถในการตอบสนอง ดังนั้นเมื่อต้องเลือกผู้ให้บริการ MDR องค์กรต้องเลือกผู้ให้บริการที่มีจุดแข็งในการตอบสนอง (Incident Response) เป็นต้น ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และเรื่องที่เก่งเชื่อมโยงจากข้อที่แล้วเมื่อทราบแล้วว่ามีช่องโหว่ตรงไหนที่ต้องการเติมเต็ม จากนั้นให้เลือกผู้ให้บริการที่มีจุดแข็งตรงกับจุดอ่อนขององค์กรเพิ่มเพิ่มระดับความแข็งแกร่งให้ครบทุกด้านมากขึ้น โดยอาจเริ่มต้นจากการหาผู้ให้บริการที่ได้รับการพิสูจน์แล้วซึ่งอาจจะเป็นจากการบอกต่อของผู้ใช้งานด้วยกันเอง […]

ทำไม MDR จึงสำคัญสำหรับธุรกิจองค์กร?

Managed Detection and Response

การใช้บริการ Managed Detection and Response หรือ MDR เป็นบริการที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการปกป้ององค์กรจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่นับวันจะยิ่งพัฒนาความซับซ้อน ทวีความรุนแรงและเพิ่มรูปแบบใหม่ๆ ให้องค์กรต้องปวดหัวอยู่เสมอ บริการ MDR จะเข้ามาช่วยให้องค์กรมีความพร้อมอยู่เสมอในการรับมือกับภัยคุกคาม ตั้งแต่การเฝ้าระวัง ไปจนถึงการตอบสนอง โดยอาศัยเครื่องมือที่ทันสมัย และทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถในการตรวจจับและรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาช่วยให้ทุกท่านเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นในความสำคัญของบริการ MDR สรุปว่าจำเป็นหรือไม่? คุ้มค่าหรือเปล่า? มาเริ่มกันจากตารางด้านล่างจะเห็นได้ว่าปัจจุบันผู้ไม่หวังดีพัฒนาวิธีการใหม่ๆ ที่นำมาใช้โจมตีเพื่อขโมยข้อมูลสำคัญหรือเข้ามารบกวนการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งวิธีใหม่ๆ นั้นยากที่จะสามารถตรวจจับได้ ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง ยกตัวอย่างเช่นกรณีศึกษาด้านล่าง MDR มีประโยชน์กับองค์กรอย่างไรบ้าง? องค์กรขาดแคลนทรัพยากรด้านไอที: องค์กรอาจมีผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไม่เพียงพอ บริการ MDR ช่วยแบ่งเบาภาระงานด้านความปลอดภัย ช่วยลดเวลาในการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบขององค์กรได้ องค์กรไม่มีทีม SOC (Security Operations Center): MDR ช่วยลดความยุ่งยากในการบริหารจัดการทีม SOC ที่ต้องใช้งบประมาณและทรัพยากรมากมาย ลดต้นทุนในการเข้าถึงเครื่องมือ เทคโนโลยีระดับสูง และทีมงานวิศวกรรมด้านความปลอดภัย องค์กรต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันภัยคุกคาม: MDR แจ้งเตือนเหตุการณ์ความเสี่ยงที่มีความผิดพลาดน้อยลง (False Alarm Reduction) ช่วยให้ตรวจจับ […]

ไขข้อข้องใจ XDR กับ MDR แตกต่างกันอย่างไร

MDR-XDR

ในโลกของการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ บริการ Managed Detection and Response (MDR) และ Extended Detection and Response (XDR) เป็นบริการที่ทำหน้าที่ใกล้เคียงกัน และมีความสำคัญต่อองค์กรในระดับเดียวกันจนหลายครั้ง ก็เกิดความสับสนในความแตกต่างของสองอย่างนี้ขึ้นในหมู่ผู้ใช้งาน เพราะทั้งสองอย่างล้วนทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการเฝ้าระวัง ตรวจจับ และรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ด้วยกันทั้งสิ้น แต่ก็ยังมีหลายแง่มุมที่ทำให้ MDR แตกต่างออกไปจาก XDR ซึ่งเราจะได้ไขข้อข้องใจเหล่านี้ไปพร้อมๆ กันในบทความนี้ Managed Detection and Response (MDR) MDR นั้นอยู่ในรูปแบบบริการ ที่ผู้ให้บริการเข้าไปช่วยองค์กรในการยกระดับการเฝ้าระวัง ตรวจจับ และรับมือกับภัยคุกคามแบบครบวงจร ซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างความสามารถของเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญของมนุษย์ โดยมีการให้บริการแบบ 24/7 ทำให้ทรัพย์สินของลูกค้าองค์กรได้รับการเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมงอย่างต่อเนื่อง พ่วงมากับบริการตอบสนองด้วยทีมตอบสนอง (Incident Respond) หรือนักดับเพลิงทางไซเบอร์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ที่เข้ามาสร้างความมั่นใจว่าเมื่อองค์กรถูกคุกคาม จะได้รับการปกป้องและตอบโต้ในเวลาอันรวดเร็วที่สุด Key Characteristics of MDR Service Oriented: เป็นลักษณะบริการจากผู้ให้บริการภายนอก ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์แบบครบวงจร […]

MDR คืออะไร? ทำไมใครๆก็ต้องใช้ MDR

Managed Detection & Response (MDR)

Managed Detection & Response (MDR) คือการยกระดับบริการทางด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่ครอบคลุมเพื่อปกป้ององค์กร ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และตรวจจับ โดยนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning (ML) มาปรับใช้ในกระบวนการทำงาน ซึ่ง MDR นั้นมีความสามารถมากกว่าแค่แจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยคุกคาม แต่ยังสามารถตรวจจับและระบุภัยคุกคามที่ซับซ้อนได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เช่น มัลแวร์แบบ Zero Day หรือการโจมตีแบบต่อเนื่อง Advanced Persistent Threats (APTs) พร้อมทั้งสามารถทำการตอบสนองและรับมือกับภัยคุกคามที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ รักษาความปลอดภัยได้ตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้นจึงสามารถลดความรุนแรงของผลกระทบที่องค์กรต้องเผชิญ เพื่อปกป้ององค์กรจากภัยคุกคามได้อย่างทันท่วงที MDR เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างทีมผู้เชี่ยวชาญ กระบวนการวิเคราะห์เชิงลึก และเทคโนโลยี AI ในการปกป้ององค์กรจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ช่วยลดภาระงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้าน IT เนื่องจากในปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและซับซ้อนมากขึ้น จึงไม่สามารถอาศัยเพียงทีมรักษาความปลอดภัยภายในองค์กรเพียงอย่างเดียวในการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งทีม IT ขององค์กรอาจไม่มีเวลาหรือทรัพยากรเพียงพอในการตรวจสอบบันทึก (log) ได้อย่างละเอียด MDR สามารถลดภาระของการตรวจสอบบันทึก (log) และทำการแจ้งเตือนทีม IT เมื่อตรวจพบกิจกรรมที่อาจเป็นอันตรายหรือน่าสงสัย […]

วิธีการรับมือและป้องกันความเสี่ยงทางด้านไซเบอร์ของหน่วยงานรัฐ (Government Sector Cybersecurity Challenges & How to Overcome Them)

ในบทความที่แล้วเราได้เห็นถึงตัวอย่างเหตุการณ์การโจมตีที่เคยเกิดขึ้นกับหน่วยงานรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลกกันไปแล้ว และจะเห็นได้ว่าการโจมตีทางไซเบอร์นั้นสามารถถูกใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเมืองได้ ดังนั้นการดูแลรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและอินเทอร์เน็ตของภาครัฐจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่ทุกหน่วยงานจะต้องตระหนัก สร้างนโยบาย และวางแนวทางการดำเนินงานรวมถึงแนวทางปฏิบัติของพนักงานอย่างเคร่งครัด เพื่อให้พร้อมตอบสนองต่อการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งในบทความนี้จะแชร์ให้เห็นถึงความเสี่ยงที่หน่วยงานรัฐต้องคำนึงถึง และวิธีการจัดการความเสี่ยงเหล่านี้ให้รอดพ้นจากการถูกโจมตี https://www.checkpoint.com/cyber-hub/cyber-security/what-is-cybersecurity-for-governments/cybersecurity-challenges-for-governments-in-2023/#TheChallenges ความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่หน่วยงานของรัฐต้องคำนึงถึงในปี 2023 Hacktivism กลุ่มผู้ไม่หวังดีทำการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับของหน่วยงานเพื่อเป้าหมายทางการเมือง มักใช้วิธีการเช่น DDoS attacks, defacement of websites เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและมีผลกระทบต่อความปลอดภัยของระบบข้อมูล Ransomware Attacks เป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน โดยไม่เพียงแต่การเข้ารหัสข้อมูลเท่านั้น แต่ยังมีการขโมยข้อมูลและขู่เปิดเผยข้อมูลเพื่อให้เจ้าของข้อมูลจ่ายค่าไถ่ เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศ Wipers and Destructive Malware โปรแกรมมัลแวร์ทำลายข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อทำลายข้อมูลสำคัญของหน่วยงานรัฐให้สูญหายไปอย่างถาวร หรืออาจทำให้ระบบปฏิบัติการล่ม ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการโจมตีทางไซเบอร์ต่อรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง เช่น WhisperGate, HermeticWiper, HermeticWizard, และ HermeticRansom ซึ่งตัวอย่างมัลแวร์เหล่านี้ เป็นมัลแวร์ที่รัสเซียใช้โจมตียูเครน Data Breaches หน่วยงานของรัฐบาลมีข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน และส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่เป็นความลับที่มีความละเอียดอ่อนสูง เป็นเหตุให้ผู้ไม่หวังดี มุ่งเป้าโจมตีมาที่ข้อมูลเหล่านี้เพื่อทำลายความมั่นคงและน่าเชื่อถือของรัฐบาล The Weaponization of Legitimate Tools สามารถโจมตีด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมาย บุกรุกระบบคอมพิวเตอร์ […]

ตัวอย่างเหตุการณ์การโจมตีที่เกิดขึ้นในหน่วยงานรัฐบาลทั่วโลก (Global Government Cybersecurity Incidents)

หน่วยงานของภาครัฐ แทบจะเรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางข้อมูลของประชาชน ที่วางใจให้จัดเก็บและรับผิดชอบข้อมูลที่สำคัญเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสาธารณูปโภค หรือข้อมูลความมั่นคงของประเทศ ซึ่งถ้าหากเกิดการรั่วไหล สูญหายอาจทำให้การดำเนินงานภายในหน่วยงานต้องหยุดชะงัก ไม่เพียงส่งผลเสียต่อหน่วยงานเท่านั้น แต่ยังกระทบต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาล และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจได้อีกด้วย มากไปกว่านั้นการรั่วไหลของข้อมูลที่อาจจะเกิดจากความประมาท หน่วยงานรัฐอาจถูกโจมตีด้วยเจตนาทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการเมืองระดับประเทศ หรือระหว่างประเทศ ภัยคุกคามทางไซเบอร์สามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการก่อการร้ายได้ หรืออาจลุกลามไปจนถึงการทำสงครามทางไซเบอร์ระหว่างประเทศ ตัวอย่างเหตุการณ์การโจมตีที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานรัฐบาลหลายแห่ง มีดังนี้ วันที่ 23 ธันวาคม 2015, สืบเนื่องจากเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย – ยูเครน รัสเซียจึงเลือกโจมตีระบบสายส่งไฟฟ้าของยูเครน จนทำให้ไฟฟ้าดับเป็นเวลา 1-6 ชั่วโมง มีผลกระทบกับผู้คนประมาณ 230,000 คน มีจุดประสงค์เพื่อขัดขวางการดำเนินงานของทหารและการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนในยูเครน วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2022, ยูเครนถูกโจมตีทางไซเบอร์ด้วยวิธี (Distributed Denial of Service – DDoS ) จากรัสเซีย ส่งผลให้สถาบันสำคัญของประเทศ เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทหารผ่านศึก รวมทั้งธนาคารหลายแห่ง ไม่สามารถใช้งานเว็บไซต์ได้หลังจากถูกโจมตี วันที่ […]