ภาพรวมภัยคุกคามทางไซเบอร์ในกลุ่มธุรกิจการเงิน (Financial Cyberthreats in 2023)

Financial Cyberthreats 2023

ผลประโยชน์ทางการเงินจากเหยื่อยังคงเป็นแรงจูงใจหลักของอาชญากรไซเบอร์ โดยในปีที่ผ่านมา (2022) เราได้เห็นพัฒนาการหลายอย่างของการโจมตี ตั้งแต่แผนการโจมตีแบบใหม่ที่กำหนดเป้าหมายไปที่ Contactless Payment ไปจนถึงกลุ่มแรนซัมแวร์ใหม่ๆ หลายกลุ่มที่เกิดขึ้นและยังคงหลอกหลอนธุรกิจต่างๆ อย่างไรก็ตาม ภัยคุกคามทางการเงินแบบดั้งเดิม เช่น มัลแวร์และฟิชชิ่งทางการเงิน (Financial Malware and Phishing) ยังคงมีส่วนแบ่งที่สำคัญของการโจมตีทางไซเบอร์ของกลุ่มธุรกิจการเงิน ในปี 2022 เราได้เห็นการอัปเกรดครั้งใหญ่ของบ็อตเน็ต Emotet ซึ่งเป็นมัลแวร์ที่กระจายตัวผ่านทางฟิชชิ่ง ด้วยการส่งไฟล์ Excel หรือ Word เพื่อให้เหยื่อเปิดอ่าน โดยจะทำการเข้าสู่เครื่องเป้าหมายผ่านทางการเปิดใช้งาน Macro หลังจากนั้นจะฝังตัวอยู่ในเครื่องเพื่อค้นหาไฟล์และอีเมลเพื่อใช้ในการส่งสแปมเมลต่อไป หรือแม้แต่การติดตั้งแรนซัมแวร์ลงในเครื่องของเหยื่อ นอกจากนี้ เรายังได้เห็นการเกิดขึ้นของมัลแวร์หลอกขโมยเงิน (Banking Trojan) ใหม่ที่พยายามเข้าถึง Credentials ของธนาคาร โดยมัลแวร์หลอกขโมยเงินที่มีชื่อเสียงในปี 2022 ที่ผ่านมาตัวอย่างเช่น Dtrack, Zbot และ Qbot เป็นต้น ข่าวดีก็คือ ถ้าไม่นับความก้าวหน้าทางเทคนิคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของมัลแวร์หลอกขโมยเงินเหล่านี้ พบว่าจำนวนครั้งในการโจมตีโดยมัลแวร์หลอกขโมยเงินลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากโซลูชันการรักษาความปลอดภัยที่รวมอยู่ในระบบปฏิบัติการ (Operating System) การยืนยันตัวตนแบบ Two-Factor […]

สัมภาษณ์น้องนักศึกษาฝึกงาน #CBE1stGen ฝึกงานที่ CYBER ELITE ดียังไง?

CYBER ELITE ได้เปิดบ้านต้อนรับนักศึกษาที่สนใจร่วมฝึกงานกับทางบริษัทเป็นรุ่นแรก โดยเราต้องการเปิดโอกาสให้นักศึกษาฝึกงานได้เข้ามาเรียนรู้จากการลงมือทำ ค้นหาตัวเอง รวมถึงพัฒนาทักษะต่างๆ ที่อยู่ภายนอกห้องเรียนมากขึ้น น้องๆ จะได้มีโอกาสฝึกฝนและเติบโตขึ้นจากประสบการณ์ในการทำงาน เพื่อพัฒนาทักษะเตรียมพร้อมสู่การทำงานจริง วางแผนอนาคตเลือกเส้นทางอาชีพการงานที่เหมาะกับตัวเองได้ ลองไปฟังบทสัมภาษณ์ของน้องๆ ฝึกงานรุ่นแรกกัน พร้อมเทคนิคการสมัครและความรู้ดีๆที่ได้รับจากการฝึกงานกับ CYBER ELITE Q1: แนะนำตัวกันก่อนเลย ชื่ออะไร เรียนอยู่ที่ไหน คณะอะไร? รู้จักกับ CYBER ELITE ได้อย่างไร? น้องพร้อมท์: สวัสดีครับ ชื่อนายพงศพล อธีตนันท์ ชื่อเล่น พร้อมท์ ครับ เรียนอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขา Cloud Computing and Cybersecurity สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (SIIT) ครับ ได้รู้จักกับบริษัท CYBER ELITE จากพี่ๆ ที่อยู่ที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) โดยพี่ๆได้ให้คำแนะนำกับผมว่า บริษัท CYBER ELITE ที่พึ่งเปิดตัวนั้น […]

ถอดบทเรียนจากงานสัมมนา IBM Solutions Summit 2023

IBM Solutions Summit 2023

เมื่อวันพุธที่ 23 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา คุณณัฐพล อาภาแสงเพชร Head of Cybersecurity Advisory Department บริษัท ไซเบอร์ อีลีท ได้รับเกียรติเป็นผู้บรรยายในงานสัมมนา IBM Solutions Summit 2023 ในหัวข้อ From Theory to Triumph: Realizing Cybersecurity Success with AI and Automation เพื่อให้ความรู้และแชร์ประโยชน์ของการนำเอาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพอย่าง AI และ Automation มาใช้จริง ช่วยเสริมความแข็งแกร่งในการรับมือภัยคุกคามด้านไซเบอร์  ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ คุณณัฐพล ได้เล่าถึงประสบการณ์จากการดูแลบริหารจัดการการทำงานในศูนย์ CSOC ที่ได้ใช้ประโยชน์จาก AI และ Automation เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้องค์กรสามารถรับมือกับเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้ดียิ่งขึ้น โดยแชร์ว่าในช่วงปีที่ผ่านมานั้น ประเทศไทยพบเจอเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับการโจมตีด้วย Ransomware มากขึ้นเรื่อยๆ และสร้างความเสียหายให้กับหลายๆ องค์กร […]

CYBER ELITE ภายใต้กลุ่มเบญจจินดาได้รับเกียรติต้อนรับนักศึกษาจากภาควิชาวิศวกรรม คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยการจัดเสวนาในหัวข้อ “Cybersecurity เส้นทางสายอาชีพที่จะอีกกี่ปีก็ยังรอด”

เมื่อวันพุธที่ 30 สิงหาคม 2566 เวลา 13:50-15:30 น. ณ ห้องประชุม Auditorium พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (MOCA) บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด ได้รับเกียรติในการเป็นเจ้าภาพต้อนรับคณะอาจารย์และนักศึกษาจากภาควิชาวิศวกรรม คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมเรียนรู้เกี่ยวกับสายงานด้าน Cybersecurity ผ่านงานเสวนาในหัวข้อ “Cybersecurity เส้นทางสายอาชีพที่จะอีกกี่ปีก็ยังรอด” โดยมีความตั้งใจจะมอบความรู้และแนวทางเกี่ยวกับสายอาชีพนี้ให้กับน้องนักศึกษา ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-4 จำนวนกว่า 71 คน โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ศุภกร กังพิศดาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด เป็นผู้กล่าวต้อนรับคณะอาจารย์ และนักศึกษาที่มาในวันนี้ และได้แสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับความสำคัญของ Cybersecurity ต่อองค์กร รวมถึงสนับสนุนแนวคิดในการวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป นอกจากนั้นยังได้รับเกียรติจากคุณณัฐวุฒิ ปิ่นทองคำ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและสื่อสารองค์กร กลุ่มเบญจจินดา ขึ้นกล่าวให้ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจของกลุ่มเบญจจินดาอีกด้วย ในการเสวนาครั้งนี้มุ่งเน้นเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับ Cybersecurity และสายอาชีพต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้ โดยมีคุณภาสกร คชพันธุ์สุนทร, […]

อุตสาหกรรมการผลิตดูแลอย่างไร ให้มั่นใจปลอดภัยจากภัยคุกคาม (Cybersecurity Protection for Manufacturing Sector)

จากบทความที่แล้วเราได้รู้กันไปแล้วว่า ภาคอุตสาหกรรมการผลิตได้ก้าวเข้าสู่ยุค Industry 4.0 แล้ว โดยมีแนวคิดในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออุปกรณ์กับเครือข่ายเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรม เนื่องจากโรงงานต้องการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายภายในองค์กร และเพิ่มผลผลิตได้ ยกตัวอย่างเช่น ระบบควบคุมอุตสาหกรรม (Industrial Control Systems – ICS), อุปกรณ์ Industrial IoT (IIoT) การป้องกันทางไซเบอร์แบบดั้งเดิมจึงไม่สามารถป้องกันระบบจากการถูกโจมตีได้ ทำให้เกิดช่องโหว่ด้านความปลอดภัยที่กลายเป็นความเสี่ยงขององค์กร ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจอื่นๆ เป็นวงกว้าง อีกทั้งยังมีต้นทุนในการแก้ไขปัญหาที่สูงขึ้นด้วย ในบทความนี้เราจึงมาเรียนรู้กันต่อถึงการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือภัยคุกคามในอุตสาหกรรมการผลิต ที่อาจจะเกิดขึ้นจากสาเหตุที่หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น มาตรการความปลอดภัยที่ไม่ชัดเจนเพียงพอ (Poor Visibility and Security Practices) ไม่สามารถตรวจจับความเสี่ยงของการโจมตีได้ (Poor Vulnerability Detection) ขาดการอัปเดตแพตซ์เพื่อปิดกั้นช่องโหว่ (Lack of Security Patches and Updates) ขาดการเข้ารหัสข้อมูล สามารถเข้าถึงข้อมูลได้แม้ไม่มีสิทธิ (Lack of Encryption) ขาดผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในองค์กร (Lack of in-house […]

ไซเบอร์ อีลีท จับมือ คลาวด์สไตรก์ ติดอาวุธป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์องค์กร ยกระดับบริการ Managed Security Services

บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด  ปี 2023  สนับสนุนองค์กร ต่อต้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ ปกป้องการเกิดผลกระทบ ก่อนธุรกิจหยุดชะงัก  พร้อมเคียงข้างองค์กรรับมือเหตุด่วนเหตุร้ายด้วยเทคโนโลยีจาก บริษัท คลาวด์สไตรก์ หรือ CrowdStrike ร่วมทำภารกิจป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้แก่ลูกค้าในยุคที่ธุรกิจจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนองค์กรและเพิ่มโอกาสในการแข่งขันในทุกมิติ   ดร.ศุภกร กังพิศดาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด ในกลุ่ม บีซีจี เบญจจินดา กล่าวว่า ไซเบอร์ อีลีท มุ่งนั่นในการเป็นผู้นำในการให้บริการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดทั้งในแง่ของปริมาณและระดับความรุนแรง จากการสำรวจของ คลาวด์สไตรก์ พบว่ามี 33 กลุ่มแฮกเกอร์ที่เกิดใหม่ในปี 2022 โดยทำให้กลุ่มแฮกเกอร์ทั้งหมดมีมากกว่า 210 ภัยคุกคาม โดยการโจมตีผ่านระบบคลาวด์มีมากขึ้นถึง 95% และใช้เวลาเฉลี่ยในการโจมตีเพียง 84 นาที โดยแนวทางการดำเนินงานของไซเบอร์ อีลีท เน้นร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลกด้านไซเบอร์ ซีเคียวริตี้ ซึ่งในครึ่งปีหลังนี้ได้ผสานความร่วมมือกับ คลาวด์สไตรก์ หรือ CrowdStrike  ผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ระดับโลก โดย […]

CYBER ELITE ได้ขึ้นบรรยายในงาน “IBM Solutions Summit 2023” 

เมื่อวันพุธที่ 23 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา CYBER ELITE ได้ขึ้นบรรยายในงาน IBM Solutions Summit 2023 – Turn Challenges into Opportunities with Hybrid Cloud & AI ในหัวข้อเสวนาย่อย “From Theory to Triumph: Realizing Cybersecurity Success with AI and Automation” ณ โรงแรม Intercontinental Bangkok โดยคุณณัฐพล อาภาแสงเพชร Head of Cybersecurity Advisory Department, CYBER ELITE คุณณัฐพล ได้บรรยายเกี่ยวกับการนำทฤษฎีไปใช้ปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เข้าฟังได้เข้าใจประโยชน์ของการนำเอาเทคโนโลยี AI และ Automation มาช่วยเสริมความแข็งแกร่งในการรับมือภัยคุกคามด้านไซเบอร์ขององค์กร เพราะโลกอยู่ในยุคสมัยที่มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การปฏิบัติงานเพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพอย่าง […]

บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด ได้รับการรับรองระบบมาตรฐานการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (ISMS – Information Security Management System) ISO 27001 และระบบการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในระดับมาตรฐานสากล ISO 27701

เมื่อวันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา ดร. ศุภกร กังพิศดาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด ในกลุ่มเบญจจินดา ได้รับมอบใบประกาศผลการรับรองระบบมาตรฐานการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (ISMS – Information Security Management System) ISO 27001 และระบบการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในระดับมาตรฐานสากล ISO 27701 ซึ่งครอบคลุมทั้งบริการ Managed Security Services (MSSP) และศูนย์ปฏิบัติการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security Operation Center – CSOC) โดย ISO 27001  และ ISO 27701 เป็นระบบมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับสำหรับการจัดการสินทรัพย์ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้รับเกียรติจากคุณ คุณสุเมธ หุตินทรวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายการพาณิชย์ บริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด […]

Cyberattack on Manufacturing: อุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing) ถูกมุ่งเป้ามากที่สุดของการโจมตีทางไซเบอร์ ในปี 2023

Cyberattack on Manufacturing

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความพยายามอย่างหนักในการเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกดิจิทัลของอุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing) ได้ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตและความสามารถในการทำกำไรของบริษัทเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการเติบโตอย่างไร้ข้อจำกัดนี้ ก็ได้เปิดโอกาสให้กับเหล่าผู้ไม่หวังดีที่มองหาช่องโหว่ (Vulnerability) ของระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วยวิธีการที่ซับซ้อนและโจมตีอย่างตรงจุดแม่นยำชัดเจน นับเป็นปีที่สองของภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ส่วนแบ่งของการโจมตีทางไซเบอร์จำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรมถูกโจมตีทางไซเบอร์มากที่สุด ตลอดปี 2022 ที่ผ่านมา การโจมตีผ่านแรนซัมแวร์ต่อโครงสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรมการผลิตเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า นับจากปี 2018 ที่ส่วนแบ่งของการโจมตีทางไซเบอร์จำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรมของอุตสาหกรรมการผลิตมีแค่เพียง 10% แต่ในปี 2022 ส่วนแบ่งได้เพิ่มขึ้นถึง 24.8% ซึ่งการโจมนี้อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจและห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด นำมาซึ่งความสูญเสียทางการเงินและต่อชื่อเสียงของโรงงานอุตสาหกรรมนั้นๆ ด้วย ทำไมภาคอุตสาหกรรมการผลิตถึงมีความสำคัญมาก ภาคอุตสาหกรรมการผลิตเป็นส่วนที่สำคัญสำหรับสังคม เนื่องจากมีบทบาทที่สำคัญในเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าในกลุ่มต่างๆ เช่น สินค้าสำหรับผู้บริโภค อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ พลังงาน ยาและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมเหล็ก และน้ำมันและก๊าซ ในระบบนิเวศการผลิต โรงงานผลิตสินค้าแต่ละแห่งกระจายทั่วโลก โดยแต่ละโรงงานมีบทบาทเป็นทั้งผู้ผลิตสินค้าและบริโภคสินค้าในเวลาเดียวกันเนื่องจากต้องใช้สินค้าจากหลายๆ แหล่งมารวมกันผลิตเป็นสินค้า ซึ่งหมายความว่าเมื่อบริษัทใดบริษัทหนึ่งโดนโจมตีทางไซเบอร์ ก็จะส่งผลทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้างแก่บริษัทอื่นที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานการผลิตด้วย จึงอาจเกิดความเสียหายแก่บริษัทเหล่านี้เป็น และมีต้นทุนในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการโดนโจมตีที่สูงมากด้วยเช่นเดียวกัน ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นระบบ กล่าวคือ เมื่ออุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งในองค์กรถูกโจมตี ก็สามารถที่จะแพร่ไปยังเครื่องอื่นๆ ที่เชื่อมต่อกันด้วย และบ่อยครั้งมักจะอยู่นอกเหนือจากควบคุมของฝ่ายไอทีขององค์กร รายงานล่าสุดของ The Cyentia […]

เตรียมพร้อมรับมือภัยคุกคามในหน่วยงานสาธารณสุข และอุปกรณ์ทางการแพทย์ (Managing Healthcare and Medical Device Security)

จากบทความที่แล้ว เราได้ทราบถึงสถิติการโจมตีและรูปแบบของภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พบบ่อยในระบบสาธารณสุขกันไปแล้ว จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ใหม่ๆ หรือที่เรียกว่า Internet of Medical Things (IoMT) เข้ามาช่วยในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยมากขึ้น ทำให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลและภาพได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจให้ดียิ่งขึ้น แต่อุปกรณ์ทางการแพทย์เหล่านี้ก็เป็นความท้าทายใหม่ๆ ที่เกิดเป็นช่องโหว่ของภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่สามารถใช้ในการโจมตีได้ ในบทความนี้เราจะมาต่อกันด้วยเรื่องของการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์สำหรับหน่วยงานสาธารณสุขและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เนื่องจากมีหลักฐานแสดงให้เห็นแล้วว่า ผู้โจมตีมุ่งหวังที่จะขโมยข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางการแพทย์เพื่อนำไปหาประโยชน์ หรืออาจเข้าถึงรหัสผ่านเพื่อรบกวนการดำเนินงานโรงพยาบาล ทำให้ผู้ไม่หวังดีสามารถกดดันองค์กรทางด้านสาธารณสุขให้ยินยอมที่จะชำระค่าไถ่ที่มีมูลค่าสูง เพราะมีความจำเป็นในการแก้ไขเหตุการณ์การโจมตีที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วนเพราะมีชีวิตของผู้ป่วยเป็นเดิมพัน การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับหน่วยงานสาธารณสุขและอุปกรณ์ทางการแพทย์นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Security Baseline) จากหน่วยงานทุกภาคส่วนของโรงพยาบาล รวมไปถึงผู้ผลิตเครื่องมือทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาล โดยมีแนวทางปฏิบัติสำหรับหน่วยงานด้านสาธารณสุข เพื่อให้สามารถเตรียมความพร้อมในการปกป้องอุปกรณ์ทางการแพทย์เบื้องต้นได้ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1: ตรวจสอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ทั้งหมด (Identify the enterprise’s medical devices) การที่เราทราบจำนวน ชนิดและที่ตั้งของอุปกรณ์ที่มีทั้งหมดเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยประเมินความเสี่ยงและการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเราต้องสามารถรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ภายในหน่วยงานอย่างครบถ้วน และแสดงให้เห็นถึงวิธีการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์กับบริการที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงวิธีเปิดใช้งาน และช่องโหว่ที่อาจเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น เครื่อง MRI, เครื่องตรวจวัดสัญญาณชีพ ทำให้สามารถติดตามและจัดการความเสี่ยงระหว่างการดำเนินงานได้ ขั้นตอนที่ 2: เตรียมพร้อมแผนการลดความเสี่ยงภายในหน่วยงาน (Develop and apply […]