อุตสาหกรรมการผลิตดูแลอย่างไร ให้มั่นใจปลอดภัยจากภัยคุกคาม (Cybersecurity Protection for Manufacturing Sector)

Share on Facebook
Share on Linkedin
Share on Twitter

จากบทความที่แล้วเราได้รู้กันไปแล้วว่า ภาคอุตสาหกรรมการผลิตได้ก้าวเข้าสู่ยุค Industry 4.0 แล้ว โดยมีแนวคิดในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออุปกรณ์กับเครือข่ายเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรม เนื่องจากโรงงานต้องการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายภายในองค์กร และเพิ่มผลผลิตได้ ยกตัวอย่างเช่น ระบบควบคุมอุตสาหกรรม (Industrial Control Systems – ICS), อุปกรณ์ Industrial IoT (IIoT) การป้องกันทางไซเบอร์แบบดั้งเดิมจึงไม่สามารถป้องกันระบบจากการถูกโจมตีได้ ทำให้เกิดช่องโหว่ด้านความปลอดภัยที่กลายเป็นความเสี่ยงขององค์กร ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจอื่นๆ เป็นวงกว้าง อีกทั้งยังมีต้นทุนในการแก้ไขปัญหาที่สูงขึ้นด้วย ในบทความนี้เราจึงมาเรียนรู้กันต่อถึงการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือภัยคุกคามในอุตสาหกรรมการผลิต ที่อาจจะเกิดขึ้นจากสาเหตุที่หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น

  • มาตรการความปลอดภัยที่ไม่ชัดเจนเพียงพอ (Poor Visibility and Security Practices)
  • ไม่สามารถตรวจจับความเสี่ยงของการโจมตีได้ (Poor Vulnerability Detection)
  • ขาดการอัปเดตแพตซ์เพื่อปิดกั้นช่องโหว่ (Lack of Security Patches and Updates)
  • ขาดการเข้ารหัสข้อมูล สามารถเข้าถึงข้อมูลได้แม้ไม่มีสิทธิ (Lack of Encryption)
  • ขาดผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในองค์กร (Lack of in-house cybersecurity experts)
  • ผลกระทบที่เกิดจากการถูกโจมตีอย่างรุนแรงในอดีต (Devastating Attack Consequences)

 

การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเพื่อปกป้องข้อมูลสำคัญจากการโจมตี ซึ่งองค์กรสามารถทำได้โดยการปฏิบัติตามหลัก CIAS  เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบ IT และ OT ที่มีอยู่ในอุตสาหกรรมการผลิต ทำให้สามารถลำดับความสำคัญของความเสี่ยงทางไซเบอร์ในการดำเนินงานและเสริมสร้างความเชื่อมั่นในองค์กรได้ ดังนี้

ในยุค Industry 4.0 การเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อุตสาหกรรมนั้นๆ ว่ากำลังเผชิญอะไรอยู่เป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อหาวิธีรับมือที่เหมาะสมในการดำเนินงาน หากเป็นองค์กรขนาดเล็ก การรับมือกับการโจมตีนั้นสามารถปฎิบัติตามหลัก Cyber Hygiene เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรพร้อมรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์เบื้องต้นได้ เช่น การอัปเดตแพทช์และอัปเดตซอฟต์แวร์ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด หากเป็นองค์กรที่มีขนาดใหญ่ มีความซับซ้อนของการดำเนินงานมากขึ้น และต้องการความปลอดภัยที่สูงขึ้น ก็สามารถปฏิบัติตาม NIST Cybersecurity Framework 2.0 ที่เป็นมาตรฐานสำหรับองค์กรในการพัฒนาความปลอดภัยไซเบอร์ โดยสามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้

                                 ที่มา : SANS Institute,2021 ., McKinsey, 2020

  1. การกำกับดูแล (Govern): เป็นมาตรฐานใหม่ที่เพิ่มเข้ามาใน NIST Cybersecurity Framework 2.0 นี้ โดยเน้นให้ความสำคัญเกี่ยวกับการบริหารควบคุมและดำเนินการกับความเสี่ยง ที่อาจนำไปสู่การโจมตีทางไซเบอร์กับองค์กร และกำกับดูแลให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ โดยกำหนดกระบวนการบริหารความเสี่ยงทางไซเบอร์ขององค์กร รวมถึงการจัดหาทรัพยากรที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยให้บุคลากรสามารถปฏิบัติตามนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

  1. การระบุและการประเมินความเสี่ยง (Identify): ระบุทรัพยากรสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องการควบคุมความปลอดภัย เพื่อนำมาทำการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหากมีการโจมตีทางไซเบอร์ เช่น การทดลองเจาะระบบเพื่อหาช่องโหว่ ทำให้ทราบแนวโน้มความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต รวมไปถึงการประเมินความเสี่ยงของบุคคลภายนอกที่มีการร่วมงานกัน

 

  1. การป้องกัน (Protect): วางแผนการป้องกันการเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ในอุตสาหกรรมการผลิต โดยให้ความสำคัญกับการตั้งค่าอย่างถูกต้องและดำเนินการอย่างเหมาะสมในกระบวนการผลิต เพื่อรักษาความปลอดภัยของระบบและข้อมูล เช่น การเข้ารหัสข้อมูลที่มีความสำคัญ สามารถป้องกันไม่ให้ข้อมูลถูกเข้าถึงโดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต

 

  1. การตรวจจับความผิดปกติ (Detect): ตรวจจับอุปกรณ์และพฤติกรรมที่เป็นอันตรายภายในองค์กร ค้นหาการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อระบุแนวโน้มของการโจมตี ซึ่งเป็นการช่วยองค์กรเตรียมความพร้อมในการตอบสนองเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อกระบวนการผลิต

 

  1. การตอบสนอง (Respond): วางแผนวิธีการปฎิบัติในการรับมือกับเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ ทดสอบด้วยการจำลองและการฝึกหัดบ่อยครั้ง เพื่อลดผลกระทบที่ในกรณีที่เกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์

 

  1. การกู้คืน (Recover): สำรองข้อมูลที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอไปยังพื้นที่เก็บข้อมูลที่ปลอดภัย สามารถกู้คืนข้อมูลสำคัญและฟื้นฟูสภาพการทำงานให้กลับสู่สภาพปกติได้ หลังจากเกิดเหตุการณ์การโจมตี เพื่อลดการหยุดชะงักในการดำเนินงาน

 

องค์กรควรสร้างความตระหนักทางด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับพนักงาน โดยการฝึกอบรมสร้างความเข้าใจให้กับพนักงานและมีมาตรการรับมือกับการโจมตีให้ดำเนินการตามขั้นตอน นอกจากนั้นองค์กรสามารถเพิ่มความมั่นใจด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์มากขึ้นได้โดยการร่วมงานกับผู้เชี่ยวชาญทางไซเบอร์ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ลดความกังวลจากการบริหารจัดการ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น

 

CYBER ELITE มีผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ มีบริการให้คำปรึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ เสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยในอุตสาหกรรมการผลิต ช่วยประเมินความเสี่ยงเพื่อหาช่องโหว่ที่อาจเกิดขึ้น เสริมระบบด้านความปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีระดับโลก เพื่อช่วยจัดการระบบการรักษาความปลอดภัยในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับระบบอุตสาหกรรมการผลิตที่มีความซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม พร้อมรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้โดยทันที

 

📌 สนใจรับบริการด้าน Cybersecurity ติดต่อ CYBER ELITE ได้ทุกช่องทาง

  • Email: [email protected]
  • Tel: 094-480-4838
  • LINE Official: https://line.me/R/ti/p/@cyberelite
  • Website: https://www.cyberelite.co
  • LinkedIn: https://bit.ly/36M3T7J