Post Views: 191
หลังจาก พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เริ่มบังคับใช้อย่างเป็นทางการ หน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องต่างเริ่มผลักดันการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์มากขึ้น เพื่อให้องค์กรธุรกิจในไทยพร้อมรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์ในยุค Digital Transformation บทความนี้ทีมงาน TechTalkThai ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ดร. ศุภกร กังพิศดาร กรรมการผู้จัดการ Cyber Elite เกี่ยวกับเทรนด์ด้าน Cybersecurity ในปี 2022 และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปีถัดไป พร้อมคำแนะนำสำหรับองค์กรธุรกิจ
การโจมตีไซเบอร์ยังคงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่หลายองค์กรธุรกิจเริ่มตระหนักแล้ว
ดร. ศุภกร กล่าวว่า ตลอดปี 2022 ที่ผ่านมา การโจมตีไซเบอร์ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีลูกค้าที่เป็นองค์กรธุรกิจไทยนับ 10 รายที่เข้ามาขอให้ทาง Cyber Elite ช่วยรับมือและจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็น Malware, Ransomware, Fraud, Phishing โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Business Email Compromise (BEC) ที่พบมากเป็นพิเศษในหลากหลายธุรกิจ นอกจากนี้ Cyber Elite ยังค้นพบอีกว่า อาชญากรไซเบอร์เริ่มพุ่งเป้าโจมตีเหล่าผู้บริหารระดับสูงมากขึ้น โดยใช้การโจมตีแบบ Spear Phishing หรือการโจมตีช่องโหว่ของอุปกรณ์ต่างๆ
เพื่อรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์เหล่านี้ การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดในวงการ Cybersecurity ไทย คือ หน่วยงานกำกับดูแลต่างๆ เริ่มผลักดันด้าน Cybersecurity มากขึ้น ส่งผลให้องค์กรธุรกิจไทย โดยเฉพาะองค์กรภายใต้การกำกับดูแลและ CII เริ่มมีความตระหนักด้าน Cybersecurity มากขึ้นตาม และเริ่มมีการพัฒนา Cybersecurity Baseline ขึ้นมาเป็นแนวทางขั้นต่ำในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยขององค์กร รวมถึงมีการนำ NIST Cybersecurity Framework และแนวคิด Secure SDLC และ Secure by Design มาใช้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่หลายองค์กรยังคงขาดอยู่ คือ การทำ Cyber Risk Management อย่างมีประสิทธิภาพ
Cyber Risk Management จะเป็นเทรนด์ใหม่ในปี 2023
สำหรับองค์กรธุรกิจในไทยที่ต่างเริ่มมีความตระหนักด้าน Cybersecurity กันแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการทำ Cyber Risk Management ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรไปอีกมิติหนึ่ง ซึ่ง Cyber Elite คาดการณ์ว่าจะเป็นเทรนด์ที่มาแรงที่สุดในปี 2023
“จากการพูดคุยกับหลากหลายองค์กรธุรกิจ เราพบว่าผู้บริหารอยากเห็นแบบเรียลไทม์เลยว่า สถานะด้านไซเบอร์ขององค์กรเป็นอย่างไร ตรงไหนมีความเสี่ยง และเป็นความเสี่ยงแบบสีแดง สีเหลือง หรือสีเขียว แสดงเป็นหน้าแดชบอร์ดแบบเข้าใจง่ายๆ ” — ดร. ศุภกร กล่าว
นอกจากนี้ สิ่งที่เราจะได้เห็นมากขึ้นในปี 2023 คือ การพัฒนาด้าน Cloud Security ขององค์กร ซึ่งเป็นผลพวงจากการทำ Cloud Transformation ในช่วง COVID-19 รวมถึงการวางโมเดล Zero Trust Security ที่จะเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น และการขยายขอบเขตการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไปสู่ Vendor/Supplier ไม่ให้ถูกใช้เป็นช่องทางให้อาชญากรไซเบอร์โจมตีเข้ามาในองค์กร หรือที่เรียกว่า Supply Chain Attacks
การยกระดับ Cybersecurity ขององค์กรต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะเหล่าผู้บริหาร
สำหรับความท้าทายด้าน Cybersecurity ขององค์กรธุรกิจในปัจจุบัน ดร. ศุภกร ระบุว่า แม้หลายองค์กรจะมีความตระหนักแล้ว แต่ส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าควรจะเริ่มต้นการวางมาตรการด้าน Cybersecurity อย่างไร และควรทำถึงจุดไหน ที่สำคัญคือยังขาด Cybersecurity Program ซึ่งเป็นกิจกรรมด้าน Cybersecurity ที่ควรกระทำตลอดทั้งปี เพื่อยกระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้ขององค์กรให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การกำกับดูแลที่ดี ต้องระลึกไว้เสมอว่าผู้ดำเนินการกับผู้ตรวจทาน ต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน และควรสอบทานด้านความมั่นคงปลอดภัยสม่ำเสมอ
“องค์กรควรจะสำรวจตัวเองบ่อยๆ จะได้เกิดความตระหนักรู้ โดยเริ่มจากการค้นหาสินทรัพย์ขององค์กรก่อนว่า เราจะต้องปกป้องอะไร แล้วเอาแนวทางปฏิบัติของกฎหมาย เช่น พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มาเป็น Baseline ในการวางมาตรการด้าน Cybersecurity นอกจากนี้ ควรทำ Cybersecurity Maturity Assessment อย่างน้อยปีล่ะครั้ง เพื่อให้ทราบว่าขณะนี้เราอยู่จุดไหน และจุดหมายด้าน Cybersecurity ที่เราจะไปเป็นอย่างไร” — ดร. ศุภกร ให้คำแนะนำแก่องค์กรในการดำเนินการด้าน Cybersecurity
เพื่อจัดการความท้าทายเหล่านี้ ดร. ศุภกร มองว่าหน่วยงานกำกับดูแล เช่น สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) หรือสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ควรเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้กับองค์กร เช่น การจัดโครงการบางอย่างขึ้นมาแล้วให้องค์กรเข้าร่วม ถ้าองค์กรใดดำเนินการด้าน Cybersecurity/Privacy ผ่านเกณฑ์ก็จะได้รับรางวัลหรือสิทธิพิเศษบางอย่าง หรืออีกวิธีที่น่าสนใจ คือ คัดเลือกองค์กรที่มีศักยภาพขึ้นมา แล้วผลักดันให้เป็นผู้นำด้าน Cybersecurity เมื่อองค์กรนั้นๆ ประสบความสำเร็จ องค์กรคู่แข่งก็จะเร่งดำเนินการตามๆ กันมาเพื่อไม่ให้สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน
“Cybersecurity เป็นเรื่องของทุกคนในองค์กร โดยเฉพาะระดับผู้บริหาร Cyber Elite พยายามที่จะสร้างคอนเน็กชันระหว่างเหล่าผู้บริหารให้มาแชร์ประสบการณ์ระหว่างกัน พัฒนาทัศนคติ และปรับกรอบความคิดด้าน Cybersecurity ให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดการดำเนินการจากบนลงล่าง นโยบายจากผู้บริหารสู่ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งจะทำให้การดำเนินการด้าน Cybersecurity มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก” — ดร. ศุภกร กล่าวถึงบทบาทของ Cyber Elite ในการผลักดันด้าน Cybersecurity
Cyber Elite พร้อมนำทางด้าน Cybersecurity และก้าวเดินไปพร้อมกับทุกองค์กรธุรกิจ
เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล เครื่องมือและกระบวนการด้าน Cybersecurity เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบงานและบริการออนไลน์ขององค์กรพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา Cyber Elite ภายใต้กลุ่มเบญจจินดาจึงถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อให้บริการด้าน Cybersecurity แบบ End-to-end ครอบคลุมทั้งการ Consult, Build และ Operate ครบวงจร เพื่อให้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรเป็นเรื่องง่าย ยกเรื่อง Cybersecurity ทั้งหมดมาให้ Cyber Elite ดูแล ลดภาระของฝ่าย IT และช่วยให้องค์กรสามารถโฟกัสกับการดำเนินธุรกิจที่ตนถนัดได้อย่างเต็มที่
“Cyber Elite ไม่ใช่แค่ผู้ให้บริการโซลูชัน ที่ซื้อมา ขายไป แล้วจบ แต่เราจะเข้าไปนำทางให้แก่ลูกค้า พร้อมร่วมสร้าง Journey ด้าน Cybersecurity ไปด้วยกัน ตั้งแต่การให้คำปรึกษา วิเคราะห์ความต้องการ สิ่งที่ยังขาด วางโครงสร้าง ปรับแต่งระบบและกระบวนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมขององค์กร ไปจนถึงการดูแลและเฝ้าระวังในอนาคต เป็นบริการ Managed Security Services แบบครบวงจร ซึ่งปัจจุบันมีเรามีลูกค้าองค์กรธุรกิจที่ไว้วางใจใช้บริการแล้วมากกว่า 50 ราย” — ดร. ศุภกร กล่าวถึงบริการจาก Cyber Elite
จากการเป็นบริษัทภายใต้กลุ่มเบญจจินดา ทำให้ Cyber Elite สามารถทำงานร่วมกับบริษัทอื่นๆ ในเครือ เช่น UIH, Cloud HM, Brainergy เพื่อส่งมอบบริการโครงสร้างพื้นฐาน ระบบคลาวด์ โซลูชันดิจิทัล และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้ลูกค้าได้อย่างบูรณาการ ช่วยให้ลูกค้าสามารถทำ Digital Transformation ได้แบบครบวงจร
มุ่งมั่นสู่การเป็นผู้นำด้าน Cybersecurity Tech ของไทย
Cyber Elite สืบทอดความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จากกลุ่มเบญจจินดามานานกว่า 60 ปี มีทีมผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการอบรมและได้รับใบรับรองระดับสากลมากมาย อาทิ CISSP, CSSLP, CISA, CISM, CDPSE, CDPO, GIAC, GWAPT, ECSA, CEH, CASP+, CySA+ และอื่นๆ นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านไซเบอร์ (Cyber Research & Development) เป็นของตัวเอง โดยทำงานร่วมกับหน่วยงานในกลุ่มเบญจจินดาเพื่อวิจัยและพัฒนาโซลูชันด้าน Cybersecurity สำหรับองค์กรธุรกิจในไทย เช่น
- Log U: บริการจัดเก็บ Log ตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ พร้อมเทคโนโลยี AI สำหรับค้นหาช่องโหว่ วิเคราะห์พฤติกรรมต้องสงสัย และตรวจสอบการละเมิดข้อกำหนดของ ISO 27001
- Threat Intelligence Platform: บริการ Threat Intelligence ที่รวบรวมข้อมูลภัยคุกคามไซเบอร์จากหลากหลาย Threat Feeds รวมถึงจากลูกค้าที่ Cyber Elite ดูแล เพื่อนำมาสร้างเป็นฐานข้อมูลภัยคุกคามอัจฉริยะสำหรับองค์กรธุรกิจไทยโดยเฉพาะ สามารถทำงานร่วมกับบริการอื่นๆ ของ Cyber Elite ได้อย่างไร้รอยต่อ
- Cyber Risk Management Platform: แพลตฟอร์มการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านไซเบอร์โดยยึดตาม NIST Risk Management Framework ช่วยให้ผู้บริหารทราบถึงสถานะด้านไซเบอร์ขององค์กรและความเสี่ยงต่างๆ ณ ปัจจุบันได้แบบเรียลไทม์
** Log U พร้อมให้บริการแก่องค์กรธุรกิจไทยแล้ว ส่วน Threat Intelligence Platform จะเริ่มให้บริการในปี 2023 ที่จะถึงนี้
“ปัจจุบันในไทยมีเทคโนโลยีอุบัติใหม่มากมาย ทั้ง FinTech, MarTech หรือ HRTech แต่ยังไม่มีเทคโนโลยีด้าน Cybersecurity ที่เป็นรูปแบบร่าง Cyber Elite ต้องการมีบทบาทหลักในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม Cybersecurity Tech ระดับประเทศ จึงได้ก่อตั้งหน่วยงาน Cyber R&D ขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจไทย และสามารถกระจายบริการไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างอาเซียนได้ โดยเราตั้งเป้าเป็นอันดับหนึ่งของ Cybersecurity Tech ในไทยภายใน 5 ปี และเป็นหนึ่งในผู้นำของภูมิภาคภายใน 10 ปี” — ดร. ศุภกร กล่าวปิดท้าย
ร่วมสร้างเส้นทางด้าน Cybersecurity และก้าวเดินไปพร้อมกับ Cyber Elite ติดต่อ
Email: [email protected]
LINE: @cyberelite
Tel: 094-480-4838
Website: https://www.cyberelite.co
LinkedIn: https://bit.ly/36M3T7J
Youtube: https://bit.ly/3sCqOen
Podcast: Cyber Elite รอบรู้ รู้ทันในโลกไซเบอร์ผ่าน Spotify, Google Podcast, Castbox, Soundcloud, Anchor Podcast