ความท้าทายของการเพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับ OT (Operational Technology)

จากบทความที่แล้วที่เราได้ไปรู้จักกับช่องโหว่การรักษาความปลอดภัยของระบบ OT รวมถึงผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นกับระบบปฏิบัติการอุตสาหกรรม ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงความท้าทายในการจัดการระบบ OT ให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยจากภัยคุกคาม ความท้าทายของการเพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับ OT (Operational Technology) มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและความซับซ้อนที่เกิดจากการเชื่อมต่อกันมากขึ้นของจำนวนของอุปกรณ์ รวมถึงการนำ Internet of Things (IoT) เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning เข้ามาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน แต่ก็อาจทำให้เกิดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้เช่นกัน เพราะเครื่องจักรจำนวนมากไม่ได้ออกแบบมาให้มีการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ดีมากพอ ยิ่งถ้ามีเรื่องของพลังงานเข้ามาเกี่ยวข้องในการดำเนินงานด้วยแล้ว การถูกโจมตีหนึ่งครั้งอาจส่งผลให้เกิดการปฏิบัติงานหยุดชะงักได้ Key factors to succeed with OT cybersecurity. เราได้รวบรวมหลักการสำคัญๆ ที่ใช้ในการบริหารจัดการระบบ OT อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ครอบคลุมทั้งเรื่องเทคโนโลยี ผู้ปฏิบัติงาน และกระบวนการ เพื่อสร้างระบบการใช้งานแบบครบวงจร ที่จะสามารถช่วยองค์กรในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน และจัดการกับความท้าทาย ซึ่งประกอบไปด้วยหลักสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ เสริมความแกร่งให้เทคโนโลยี (Strengthen technological foundations) องค์กรต้องเลือกใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและออกแบบโครงสร้างการทำงานได้เหมาะสมกับการใช้งาน จำกัดการใช้งานเครื่องมือเฉพาะผู้คนที่จำเป็นและเหมาะสมกับฟังก์ชันงานเท่านั้น อีกทั้งต้องมีการควบคุมที่เป็นมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบ OT […]